top of page
th.png
gb.png

หลักการถอดเสียงมาตรฐาน

หลักที่เรียกว่าเป็นมาตรฐานมีอยู่ 2 หลักใหญ่ ๆ

1.

มาตรฐานไทย: หลักราชบัณฑิตยสถาน

ชื่อเต็ม คือ “หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน ฉบับราชบัณฑิตยสถาน” เป็นหลักเกณฑ์มาตรฐานอย่างเป็นทางการของไทย เน้นที่คำว่า “ทางการ” คือ ทางการคิดเอง ใช้เอง ส่วนใหญ่ก็ใช้เขียนชื่อสถานที่ต่าง ๆ

หลักราชบัณฑิตสถานแตกต่างกับภาษาคาราโอเกะที่คนไทยทั่วไปมักใช้กัน แต่ก็ยังมีหลักการร่วมกันอยู่ จึงทำให้คนไทยทั่วไปไม่ค่อยมีปัญหาในการอ่านคำที่ใช้หลักราชบัณฑิตยสถาน

baeb thi nueng: khian tam mattrathan baeb thai thai
 

แบบที่ 1: เขียนตามมาตรฐานแบบไทย ๆ

2.

มาตรฐานสากล: หลักภาษาศาสตร์
IPA (International Phonetic Alphabet)

เป็นชุดสัญลักษณ์มาตรฐานที่นักภาษาศาสตร์ทั่วโลกใช้ร่วมกันในการถอดเสียง เน้นที่คำว่า “เสียง” คือ ถอดเสียงให้เป๊ะ เพื่อให้อ่านออกเสียงได้เป๊ะ หลักถอดเสียงภาษาไทยที่ประยุกต์จาก IPA นิยมใช้ในการเรียนการสอนภาษาไทยสำหรับคนต่างชาติ

bɛ̀ɛb tîi sɔ̌ɔng: khı̌ian dtaam mâat-dtrà-tǎan paa-sǎa-sàat sǎa-gon bɛ̀ɛb bprà-yúk

แบบที่ 2: เขียนตามมาตรฐานภาษาศาสตร์สากลแบบประยุกต์

ปัญหาของหลักการถอดเสียงมาตรฐานสำหรับคนต่างชาติ

ถึงจะเรียกว่าหลักมาตรฐาน แต่เป็นมาตรฐานที่ใช้เฉพาะกลุ่ม ไม่ใช่มาตรฐานที่ทุกคนต้องปฏิบัติตาม จึงเกิดปัญหาดังนี้

1.

มาตรฐานไทย: หลักราชบัณฑิตยสถาน

คนต่างชาติมักอ่านไม่ออก ออกเสียงไม่ถูก เพราะไม่ได้ออกแบบมาเพื่อการเรียนภาษาโดยเฉพาะ

2.

มาตรฐานสากล: หลักภาษาศาสตร์
IPA (International Phonetic Alphabet)

ไม่เหมาะกับการใช้พิมพ์สื่อสารกับคนไทย เพราะใช้สัญลักษณ์พิเศษ และคนไทยส่วนใหญ่อ่านไม่ออก

เปรียบง่าย ๆ กับภาษาอังกฤษ การอ่านประโยคที่ถอดเสียงตามหลักภาษาศาสตร์ ก็จะได้อารมณ์ประมาณนี้

ˈriːdɪŋ ðɪs fəʊˈnɛtɪk ˈælfəbɪt  ɪz kwaɪt ˈdɪfɪkəlt, ˈɪznt ɪt? 

ɔːlˈðəʊ ɪt ˌrɛprɪˈzɛnts ðə kəˈrɛkt saʊndz, ɪts hɑːd tuː 

ˌʌndəˈstænd ðə ˈmiːnɪŋ  æt fɜːst glɑːns.

Reading this phonetic alphabet is quite difficult, isn't it? Although it represents the correct sounds, it's hard to understand the meaning at first glance.

แม้จะถอดเสียงได้แม่นยำ แต่ไม่เหมาะกับการสื่อสารกับคนอื่นเลย

k-raise arm-o-determined.png
bottom of page