A Boutique Thai Language School

ตารางแสดงสัญลักษณ์เสียงโค้ดคาราโอเกะของ ThaiToYou




ข้ามไปยัง:
พยัญชนะต้น

จุดที่แตกต่างจากหลักราชบัณฑิตยสถาน
-
ตัด h ออกจาก kh, th, ph
-
อ่านง่าย
-
ไม่สับสนกับเสียงในภาษาอังกฤษ
-
-
เติม _ ใต้ k, t, p เป็นสัญลักษณ์แทนการไม่พ่นลม
-
จริง ๆ k, t, p ในภาษาอังกฤษก็มีเสียงที่ไม่พ่นลม เช่น sky, star, spa
-
ถึงจะพิมพ์แบบไม่มีขีด _ เวลาคุยในแชต คนไทยก็ยังอ่านออก เพราะคนไทยก็ใช้ปนๆ แบบนี้เหมือนกัน
-
-
เสียง จ เปลี่ยนสัญลักษณ์จาก ch เป็น j
-
ไม่ซ้ำกับเสียง ช สัญลักษณ์ ch
-
คนไทยทั่วไปก็ใช้ j ทั้งนั้น เสียงคล้าย j ในภาษาอังกฤษ อย่าสับสนกับ j ในภาษาอื่น
-
พยัญชนะท้าย

จุดที่แตกต่างจากหลักราชบัณฑิตยสถาน
-
ใช้ -d, -b แทนที่จะเป็น -t, -p ตามแบบมาตรฐาน
-
ตัวสะกดภาษาไทยคือ แม่กด แม่กบ ไม่แปลกถ้าจะสะกดตรงตามรูปตัวอักษร
-
เสียง ด บ ไม่หนักเท่าภาษาอังกฤษ และเสียงตัวพยัญชนะท้ายภาษาไทยไม่พ่นลมอยู่แล้ว จึงไม่ค่อยส่งผลต่อการออกเสียง
-
-
แม่เกย เกอว ใช้สัญลักษณ์มากกว่า 1 รูป
-
ย ว เป็นกึ่งสระ คำลงท้ายด้วย ย ว จัดอยู่ในหมวดสระประสม ต้องดูสระข้างหน้าประกอบด้วยตามตารางสระ
-
คนไทยชินว่า ย = y, ว = w แต่สระที่เขียนเป็นอังกฤษแล้วออกเสียงไปอีกอย่าง คือ ay uy aw จะเขียนเป็น ai ui ao แทน
-
หมายเหตุ
1. พยัญชนะท้ายภาษาไทยไม่พ่นลมอยู่แล้ว จะลงท้ายด้วย -d -t -j -ch -s ก็ออกเสียงเหมือนกันหมด
2. ตัวสะกดแม่กด มี 18 ตัว แม่กน 6 ตัว แม่กบ 5 ตัว แม่กก 4 ตัว เพราะได้รับอิทธิพลจากภาษาอื่น เช่น บาลี สันสกฤต ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมถึงคนไทยถึงสะกดกันหลายรูปแบบมาก บางคนก็สะกดตามตัวอักษรไทยเพื่อรักษารูปเดิมไว้
สระ

จุดที่แตกต่างจากหลักราชบัณฑิตยสถาน
-
ใส่จุด (.) ใต้สระ แทนเสียงสั้น
-
เหมือนสัญลักษณ์ staccato ทางดนตรี เติมแค่จุดเล็กๆ ไม่ต้องเปลี่ยนการเขียนให้อ่านยาก
-
มีคนใช้สัญลักษณ์นี้เหมือนกัน คือ Thai Grammar Reference แต่เขียนอยู่ข้างบนคำ
-
หมายเหตุ
สัญลักษณ์ r ในสระ er กับ or ไม่ออกเสียง r เพราะมีจุดประสงค์เพื่อใช้แยกเสียงเท่านั้น
วรรณยุกต์

กฎการใส่สัญลักษณ์เสียงวรรณยุกต์
-
จุดกับวรรณยุกต์อยู่ตรงกัน ใส่ที่สระตัวหน้าสุด
-
เสียงที่ไม่มีสัญลักษณ์วรรณยุกต์กำกับ หมายถึง เสียงสามัญที่ใช้กับเสียงสระอะหรือเสียงสระอะกึ่งเสียง เพราะถึงกฎการสะกดคำภาษาไทยจะระบุให้ออกเสียงเอกหรือเสียงตรี แต่เสียงที่ออกจริงคือเสียงสามัญ เพื่อให้ออกเสียงได้ตรงตามจริงและป้องกันการสับสน เราจึงเลือกไม่ใส่สัญลักษณ์วรรณยุกต์ใดๆ
ว่าด้วยเรื่องสัญลักษณ์วรรณยุกต์ (Tone Marks)
-
ตำราส่วนใหญ่ใช้สัญลักษณ์ตรงกัน
-
ดูกราฟเสียงของสัญลักษณ์พวกนี้ได้จาก spectrum graph
-
เป็นสัญลักษณ์แสดงลักษณะการขึ้นลงของเสียงเท่านั้น แต่ไม่ได้สะท้อนถึงระดับเสียงที่แท้จริง เช่น
-
เสียง falling คือ ตกจากที่สูง ฟังเหมือนเสียงสูง เพราะเสียงไม่ได้ตกลงมาต่ำมาก
-
เสียง low เริ่มที่ระดับต่ำ แล้วต่ำลงไปอีก แต่สัญลักษณ์ดูเหมือนเสียงตกจากสูงมาต่ำ
-
คำยกเว้น
โค้ดคาราโอเกะของเราไม่ใช่แค่คำอ่านออกเสียงเท่านั้น แต่ยังเป็นภาษาเพื่อการสื่อสารอีกด้วย ดังนั้นจึงต้องรักษาสมดุลทั้งสองด้านนี้ให้ดี
ด้านการออกเสียง
ถึงบางคำอาจมีการสะกดแบบอื่นที่ดีกว่า แต่เราเลือกที่จะรักษาระบบมากกว่าจะแก้จุกจิกยิบย่อย
เช่น
-
คำว่า “ลอง” เราใช้ว่า lorng ไม่ใช่ long เพราะ long ใช้กับคำว่า ลง
-
คำว่า “นิดหน่อย” เราใช้ว่า nid-noy ไม่ใช่ nid-noi เพราะคิดว่าคนไทยยังเข้าใจความหมายตรงกันอยู่ (คนไทยนิยมใช้ oi แทนเสียงสั้น และ oy แทนเสียงยาว)
ด้านการสื่อสาร
แต่อย่างไรก็ต้องมีคำยกเว้นบ้าง เพราะเราคำนึงถึงมารยาททางสังคม วัฒนธรรม และความหมายที่คนส่วนใหญ่เข้าใจด้วย แม้แต่ทางการเองก็ยังมีคำที่ไม่ได้สะกดตามหลักราชบัณฑิตฯ เช่น
-
เขียนตามแบบบาลีสันสกฤต Suvarnnabhumi, Sriracha
-
สะกดแบบเดิมๆ ที่เคยใช้มา Pattaya, Khao Kheow, moo 1
คำยกเว้นของโค้ดคาราโอเกะ ฉบับ ThaiToYou
เรากำหนดให้มีคำยกเว้นให้น้อยที่สุด ได้แก่

อื่น ๆ
หมายเหตุ:
คำยกเว้น ไม่ใส่สัญลักษณ์จุดและวรรณยุกต์ ยกเว้นบางคำที่ควรใส่จริง ๆ เช่น ฟัน ฝัน
ชื่อเฉพาะ
-
ชื่อคน ให้ใช้ตามที่เจ้าตัวเขียน
-
ชื่อสถานที่ ให้ใช้ตามแบบราชการ
คำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
คำทางการ
รวมทั้งคำที่คนนิยมเขียนตามราชการ เช่น krathong
คำที่ใช้กันอยู่แล้ว
คำที่คนไทยทั่วไปใช้บ่อยจนเหมือนมีความหมายไปแล้ว สังเกตได้จากการพิมพ์ที่แสดงมารยาทแบบไทย ๆ แม้แต่ตอนพิมพ์อีเมลงานเป็นภาษาอังกฤษ เช่น
-
Dear Khun A
-
Thank you na krub.
ถ้าพิมพ์ว่า kun, koon หรือ khoon ถือว่าแปลกมาก และอาจผิดมารยาทได้
กฎเพิ่มเติม
A
ขึ้นต้นตัวใหญ่
-
ชื่อคน ชื่อเมือง ประเทศ และสถานที่ต่าง ๆ
เช่น Korn, Sukhumvit, Yêe-pụ̀n
-
คำทับศัพท์ภาษาไทยที่ต้องเขียนแบบขึ้นต้นตัวใหญ่เวลาเขียนในประโยคภาษาอังกฤษ
เช่น Songkran, Pad Thai
I
ตัวเอียง
-
คำทับศัพท์ภาษาอื่น
เช่น taxi
a
ตัวจิ๋ว
-
พยางค์ที่ละได้
เช่น computer
-
คำที่ละได้
เช่น ạ-rạ̄i nạ́ kạ́?
-
ขีดคั่นพยางค์
-
คำที่มีหลายพยางค์
เช่น ภาษา /pā-să/
-
คำประสม
เช่น ลูกค้า /lûk-ká/